กายภาพบําบัดผู้สูงอายุ กายภาพบําบัดเบื้องต้น ในผู้ป่วยภาวะพึ่งพิง-ติดเตียง

กายภาพบําบัดผู้สูงอายุ กายภาพบําบัดเบื้องต้น ในผู้ป่วยภาวะพึ่งพิง-ติดเตียง

ปัจจุบัน ประเทศไทยกําลังเดินหน้าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) ซี่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมี แนวโน้มของการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ที่จัดเป็นปัญหาของการสาธารณสุขมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะโรคหัวใจ , ความดัน , เบาหวาน และอัมพาต โดยโรคดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ และ คุณภาพชีวิตของประชาชนทุกระดับทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ต้องอาศัยบุคลากรทาง

การแพทย์ในหลายด้าน แต่เนื่องด้วยจํานวนผู้ป่วยที่มาก แต่บุคลากรทางการแพทย์ที่น้อย ไม่เพียงพอต่อผู้ป่วย ทําให้ในบางรายมีอาการของโรคที่มากขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตํ่าลง ดังนั้นการเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยทางกายภาพบําบัดเบื้องต้น จึงมีความจําเป็นต่อผู้ป่วยและญาติเพื่อให้การดูแลเบื้องต้นได้อย่าง เหมาะสม นอกจากนั้นยังสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและลดความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นโรคเรื้อรังอื่นที่อาจเกิดตามมาได้

แนะนำผู้เชี่ยวชาญ

กายภาพบำบัด น.ท. ฉัตรชัย ไตรทอง

กายภาพบำบัด น.ท. ฉัตรชัย ไตรทอง

การออกกําลังกาย

กายภาพบําบัดเบื้องต้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ การให้การออกกําลังกาย สําหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ ควรเน้น การออกกําลังกายในท่าง่ายๆ โดยการให้ความช่วยเหลือในการออกกําลังกายจะอยู่ที่ความแข็งแรงของผู้ป่วย
เป็นหลัก กล่าวคือ ถ้าผู้ป่วยมีความแข็งแรงมาก ก็ให้ทําด้วยตัวเอง แต่ถ้าผู้ป่วยมีความแข็งแรงน้อย หรือไม่ สามารถทําเองได้ เช่น ผู้ป่วยอัมพาต ญาติจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสําคัญในการออกกําลังกายให้แก่ผู้ป่วย โดยท่าออกกําลังกายเบื้องต้น มีดังนี้

การยกแขนขึ้น – ลง

การยกแขนขึ้น – ลง

การงอ – เหยียดข้อศอก

การงอ – เหยียดข้อศอก

การกระดกข้อมือขึ้น – ลง

การกระดกข้อมือขึ้น - ลง

การกํา – แบมือ

การกํา – แบมือ

การงอ – เหยียดเข่า และสะโพก

การงอ – เหยียดเข่า และสะโพก

การกระดกข้อเท้าขึ้น – ลง

การกระดกข้อเท้าขึ้น – ลง

การปรับ – เปลี่ยนท่าทาง

ในผู้ป่วยกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะอยู่ในภาวะติดเตียง หรืออยู่ในภาวะเดิมนานๆ ซึ่งอาจทําให้เกิดโรค แทรกซ้อนต่างๆตามมาได้ ดังนั้น หากผู้ป่วย-ญาติได้รับคําแนะนําจากบุคลากรทางการแพทย์ ให้ทําการปรับเปลี่ยนท่าทางเพื่อเพิ่มความสามารถในการใช้ชีวิตประจําวัน ควรทําในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยต้องดู

อาการอื่นๆประกอบด้วย เช่น ชีพจร หรือความดัน เป็นตัน โดยมีขั้นตอนการปรับท่าทาง ดังนี้

นอนหัวสูง

จากท่านอนราบ ค่อยๆเพิ่มระดับความสูงของหัวเตียง โดยต้องทําอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะ ในวันแรกๆ ผู้ป่วยอาจมีอาการเวียนศีรษะ และนําไปสู่การเป็นลมหมดสติได้หากปรับระดับความสูง มากเกินไป ดังนั้นควรสังเกตอาการผู้ป่วยตลอดเวลาขณะอยู่ในท่านี้

นั่งพิงเตียง

เมื่อผู้ป่วยนั่งหัวสูงได้แล้ว โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งพิงเตียงให้นานขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายได้ทํางานมากขึ้น และเป็นการกระตุ้น ให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองมากขึ้น ทําให้ผู้ป่วยมีความแข็งแรงมากขึ้น

นั่งข้างเตียง

หากผู้ป่วยนั่งพิงเตียงได้นาน โดยไม่มีอาการเหนื่อย หรือความผิดปกติใดๆ ให้ค่อยๆขยับผู้ป่วยไป นั่งข้างเตียง ซึ่งในขั้นตอนนี้ควรถามความเห็นจากบุคลากรทางการแพทย์อีกครั้ง รวมถึงวิธีการทํา โดยละเอียด เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย จะเห็นได้ว่าการดูแลผู้ป่วยกลุ่มภาวะพึ่งพิง-ติดเตียงเบื้องต้น เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยและญาติสามารถทําได้ด้วยตัวเอง ซึ่งการดูแลลักษณะนี้ควรทําเป็นประจําอย่างสมํ่าเสมอจึงจะส่งผลในการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับ
ผู้ป่วยกลุ่มรวมถึงการลดโรคแทรกซ้อนอื่นๆที่อาจตามมา และอาจทําให้ผู้ป่วยพ้นจากภาวะพึ่งพิงได้ในที่สุด